เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [3. ปัญญาวรรค] 3. อภิสมยกถา
เห็นและเป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งจิต ญาณที่สัมปยุตด้วยจิตนั้นมีนิโรธเป็นโคจร ย่อม
ตรัสรู้ด้วยจิตที่เป็นปัจจุบัน และด้วยญาณในขณะแห่งโลกุตตรมรรคอย่างนี้
[20] ถาม : การตรัสรู้มีเท่านี้หรือ
ตอบ : ไม่ใช่มีเท่านี้ ในขณะแห่งโลกุตตรมรรค การตรัสรู้คือความเห็น
ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ การตรัสรู้คือความตรึกตรอง ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ การตรัสรู้คือ
การกำหนด ชื่อว่าสัมมาวาจา การตรัสรู้คือสมุฏฐาน ชื่อว่าสัมมากัมมันตะ การ
ตรัสรู้คือความผ่องแผ้ว ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ การตรัสรู้คือความตั้งมั่น ชื่อว่าสัมมาสติ
การตรัสรู้คือความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าสัมมาสมาธิ
การตรัสรู้คือความตั้งมั่น ชื่อว่าสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ การตรัสรู้คือ
การพิจารณา ชื่อว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์
การตรัสรู้คือความไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธา ชื่อว่าสัทธาพละ การ
ตรัสรู้คือความไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน ชื่อว่าวิริยพละ การตรัสรู้คือ
ความไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท ชื่อว่าสติพละ การตรัสรู้คือความไม่หวั่นไหว
เพราะอุทธัจจะ ชื่อว่าสมาธิพละ การตรัสรู้คือความไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา ชื่อว่า
ปัญญาพละ
การตรัสรู้คือความน้อมใจเชื่อ ชื่อว่าสัทธินทรีย์ การตรัสรู้คือการประคองไว้
ชื่อว่าวิริยินทรีย์ การตรัสรู้คือความตั้งมั่น ชื่อว่าสตินทรีย์ การตรัสรู้คือความ
ไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าสมาธินทรีย์ การตรัสรู้คือความเห็น ชื่อว่าปัญญินทรีย์
การตรัสรู้ที่ชื่อว่าอินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ การตรัสรู้ที่ชื่อว่าพละ
เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหว การตรัสรู้ที่ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะนำออก
การตรัสรู้ที่ชื่อว่ามรรค เพราะมีสภาวะเป็นเหตุ การตรัสรู้ที่ชื่อว่าสติปัฏฐาน
เพราะมีสภาวะตั้งมั่น การตรัสรู้ที่ชื่อว่าสัมมัปปธาน เพราะมีสภาวะดำรงไว้ การ
ตรัสรู้ที่ชื่อว่าอิทธิบาท เพราะมีสภาวะให้สำเร็จ การตรัสรู้ที่ชื่อว่าสัจจะ เพราะมี
สภาวะเป็นของแท้ การตรัสรู้ที่ชื่อว่าสมถะ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน การตรัสรู้ที่
ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น การตรัสรู้ที่ชื่อว่าสมถะและวิปัสสนา
เพราะมีสภาวะมีรสเป็นอย่างเดียวกัน การตรัสรู้ที่ชื่อว่าธรรมที่เป็นคู่กัน เพราะมี
สภาวะไม่ล่วงเลยกัน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :574 }